หน้าหลัก
ITA
LPA
ประกาศจากระบบ e-GP
ประกาศจากระบบ e-GP ในเครือข่าย
สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดตาก ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ
 
หน้าหลัก
HOME
ข่าวสาร
NEWS
ข้อมูลหน่วยงาน
ABOUT US
ระเบียบ/กฎหมาย
LAW
มติ/การประชุม
RESOLUTION
สนทนา
WEBBOARD
ผลิตภัณฑ์/สถานที่
OTOP/TRAVEL
ติดต่อเรา
CONTACT US
สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
จังหวัดตาก
www.taklocal.org
คำขวัญประจำจังหวัดตาก
" ธรรมชาติน่ายล
ภูมิพลเขื่อนใหญ่
พระเจ้าตากเกรียงไกร
เมืองไม้และป่างาม "
 
 
 

ข่าวสาร

 


 
ประเพณีลอยกระทงสายไหลประทีป ๑๐๐๐ ดวง จังหวัดตาก  

ลำดับภาพที่ 1/6

ลำดับภาพที่ 2/6

ลำดับภาพที่ 3/6

ลำดับภาพที่ 4/6

ลำดับภาพที่ 5/6

ลำดับภาพที่ 6/6
<<
>>
X
คลิกที่ภาพเพื่อขยาย

ตำนานกระทงสายไหลประทีป ๑๐๐๐ ดวง ของจังหวัดตาก  
ด้ายตีนกา

กระทงกะลา

  ตำนานการฟั่นด้ายตีนกา
     เหตุที่ต้องฟั่นด้ายดิบเป็น รูปตีนกา นั้น มีตำนานเล่าขานจากผู้เฒ่าผู้แก่สืบทอดต่อกันมาว่า ในอดีตกาลมี สามเณรน้อย ผู้ชอบเที่ยวซุกซนอยู่รูปหนึ่ง มีนิสัยที่ชอบล่าสัตว์ ยิงนก ตกปลาเป็นประจำ วันหนึ่งเณรน้อยได้ยิงไก่ วัว เต่า และพญานาค ตาย จึงเกิดสำนึกในบาปที่ตนได้กระทำมาตลอด จึง ได้อธิษฐานกับพวกไก่ วัว เต่า และพญานาค ว่าถ้าได้เกิดมาในชาติหน้าขอให้เป็นพี่น้องท้องเดียวกัน

     ณ ริมฝั่ง แม่น้ำคงคา มีต้นไทรอยู่ต้นหนึ่งเป็นที่อาศัยของกาเผือกสองตัวผัวเมีย ซึ่งได้ออกไข่มา ๕ ฟอง อยู่มาวันหนึ่ง ขณะที่กาเผือกสองตัวผัวเมียออกเที่ยวหาอาหารอยู่นั้น ท้องฟ้ามืดครึ้ม มีลมพัดแรง ได้พัดเอาไข่ ๕ ฟอง ตกลงในแม่น้ำ แต่ไข่นั้นหาจมน้ำไม่ กลับลอยไปติดชายหาดแห่งหนึ่ง และไข่ทั้ง ๕ ฟอง ก็แตกออกมาเป็นเด็กทารก ๕ คน คือ เณรน้อย ไก่ เต่า วัว และพญานาคที่มาเกิดนั้นเอง ทารกทั้ง ๕ คน ก็พากันตั้งจิตอธิษฐานว่า ถ้าตนทั้ง ๕ เป็นพี่น้องร่วมท้องเดียวกัน ก็ขอให้มีโอกาสพบพ่อแม่ด้วยเถิด

     ส่วนกาเผือกสองตัวผัวเมีย เมื่อตายลงไปเกิดเป็นเทวดาอยู่บนสวรรค์ จึงมาเข้าฝันทารกทั้ง ๕ คน ว่า “ หากเจ้าทั้ง ๕ คน อยากเห็นหน้าและระลึกถึงพ่อแม่ ก็จงฟั่นด้ายเป็น รูปตีนกา แล้วลอยแม่น้ำคงคาไป ” ต่อมาทารกทั้ง ๕ คน ก็ได้สำเร็จอรหันต์เป็น พระพุทธเจ้า ๕ พระองค์ ด้วยเหตุนี้การลอยกระทงสายทุกครั้ง จึงมีการฟั่นด้ายเป็นรูปตีนกา เพื่อบูชาแม่กาเผือกของพระพุทธเจ้า ๕ พระองค์ ซึ่งเป็นงานประเพณีการลอยกระทงสายของจังหวัดตากไหลประทีป ๑๐๐๐ ดวง สืบมาจนทุกวัน




งานประเพณีลอยกระทงสายไหลประทีป ๑๐๐๐ ดวง

     งานประเพณีลอยกระทงสายไหลประทีป ๑๐๐๐ ดวง ของจังหวัดตาก เป็นงานประเพณีที่นำหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา ภูมิปัญญาชาวบ้าน และงานศิลปวัฒนธรรม มาหล่อหลอมรวมกันจนเกิดเป็นรูปแบบที่โดดเด่น ได้มีการปฏิบัติสืบทอดต่อกันมาเป็นเวลายาวนานหลายชั่วอายุคน ซึ่งจะแตกต่างกับงานประเพณีลอยกระทงของจังหวัดอื่น เพราะส่วนประกอบของกระทงจะมีการนำ กะลามะพร้าว มาใช้เป็นส่วนใหญ่ เหตุที่มีการนำเอากะลามาเป็นส่วนประกอบนั้น เนื่องมาจากชาวเมืองตาก มีการนำเอามะพร้าวมาแปรรูปทำเป็นอาหารว่าง ที่เรียกว่า “ เมี่ยง ” โดยถือเป็นอาหารว่างที่ชาวเมืองตากรับประทานเป็นประจำหลังอาหาร ซึ่งมีมะพร้าว ถั่วลิสง ใบเมี่ยงหมัก เป็นส่วนประกอบหลัก นอกจากทำเพื่อรับประทานกันเองภายในครอบครัวแล้ว ยังมีการนำมาขายเป็นอาหารพื้นเมืองและได้รับความนิยมในภาคเหนือโดยทั่วไป กรรมาวิธีในการแปรรูปมะพร้าวเป็น “ เมี่ยง ” นั้น มีการขูดเอาเฉพาะเนื้อมะพร้าวมาทำ ส่วนกะลามะพร้าวจะถูกทิ้งไว้ในบริเวณบ้านเป็นจำนวนมาก ไม่มีการนำเอามาใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่
มะพร้าวและกะลา  

กระทงกะลา


      ครั้นถึงวันเพ็ญ เดือนสิบสอง ( วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ตามปฏิทินทางจันทรคติ ) ประมาณเดือนพฤศจิกายน ชาวบ้านจึงได้ทดลองนำกะลาด้านที่ไม่มีรูมาทำเป็นกระทง โดยเอากะลามาขัดถูจนสะอาด ตกแต่งลวดลายสวยงาม ภายในกะลาใส่ด้ายดิบที่ฟั่นเป็น รูปตีนกา แล้วหล่อ เทียนขี้ผึ้ง ซึ่งนำมาจากเทียนจำนำพรรษาที่พระสงฆ์จุดเพื่อทำพิธีสวดมนต์ในโบสถ์วิหารตลอดสามเดือน หลังจากออกพรรษาชาวบ้านจะนำเทียนขี้ผึ้งเหล่านั้นมาหล่อใส่ในกะลา ซึ่งถือว่าเป็นของศักดิ์สิทธิ์และเป็นศิริมงคลแก่ผู้นำไปลอย ก่อนที่จะปล่อยลงลอยในแม่น้ำปิง ประกอบกับแม่น้ำปิงที่ไหลผ่านจังหวัดตากจะเกิดสันทรายใต้น้ำ ทำให้เกิดเป็นร่องน้ำที่สวยงามเป็นธรรมชาติ เมื่อนำ กระทงกะลา ลงลอย กระทงกะลาจะไหลไปตามร่องน้ำดังกล่าว ทำให้ดูเป็นสายอย่างต่อเนื่อง จนสุดสายตา ซึ่งไฟในกะลาจะส่องแสงระยิบระยับเต็มท้องน้ำ

     โดยเดิมทีก่อนที่จะมาเป็นงานประเพณีลอยกระทงสายไหลประทีป ๑๐๐๐ ดวง นั้น การนำเอากระทงกะลามาลอยเป็นสายจะเป็นเพียงการสาธิตการลอยเท่านั้น ซึ่งในระยะต่อมาได้มีการพัฒนาการลอยมาเป็นการแข่งขันกันอย่างยิ่งใหญ่ในปี พ.ศ. 2540 จนเป็นงานประเพณีลอยกระทงสายไหลประทีป ๑๐๐๐ ดวง ในปัจจุบัน เป็นรูปแบบที่โดดเด่นและเป็นเอกลักษณ์ของชาวจังหวัดตากที่ภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่ง
การสาธิตการลอยกระทงสาย
  

 

ข่าว ณ. วันที่ 15 ต.ค. 2552 เวลา 12.28 น. โดย คณะทำงานประชาสัมพันธ์สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดตาก

ผู้เข้าชม 2790 ท่าน

 
 
จำนวนผู้เข้าชม
เริ่มนับ วันที่ 3 ก.ย. 2551